Home ทั่วไป พื้นฐานเกี่ยวกับระบบเสียง และ อุปกรณ์มีอะไรบ้างที่จำเป็น
ระบบเสียง Mixer

พื้นฐานเกี่ยวกับระบบเสียง และ อุปกรณ์มีอะไรบ้างที่จำเป็น

by Kim Nguyen
401 views

ความรู้เบื้องต้นเรื่องมิกเซอร์ ปรีแอมป์ และ แอมป์ขยายประเภทต่างในระบบเสียง

ปกติแล้วสำหรับคนที่ทำงานเกี่ยวกับระบบเสียง หรือมีระบบเสียงเป็นของตัวเอง มักจะมีความคุ้นเคยกับอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบเสียงกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว แต่สำหรับมือใหม่และคนที่เพิ่งเริ่มสนใจในระบบเสียง อาจจะเป็นเรื่องที่ลำบากพอสมควรในการที่ต้องจำให้ได้ว่าอุปกรณ์ตัวไหน ชื่ออะไร หรืออุปกรณ์ทำหน้าที่อะไรในระบบเสียงบทความนี้จะมาแนะนำอุปกรณ์ในระบบเสียงบางส่วนให้สำหรับมือใหม่ได้รู้จักและถือซะว่าเป็นการทบทวนไปด้วยกันสำหรับท่านที่ทำงานเกี่ยวกับระบบเสียง หรือมีระบบเสียงเป็นของตัวเองอยู่แล้วครับ  โดยในบทความนี้จะแนะนำอุปกรณ์สามประเภทคือ มิกเซอร์ ปรีแอมป์ และแอมป์ขยายประเภทต่างๆครับ

ระบบเสียง Mixer

Mixer มิกเซอร์

  • เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ผสมสัญญาณเสียงต่างๆ ที่รับมาจากไมโครโฟน ไม่วาาจะเป็นเสียงร้องเพลง เสียงพูด เสียงเครื่องดนตรี เครื่องเล่นซีดี วีซีดี คอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นมัลติมีเดียต่างๆ เข้าด้วยกัน แล้วส่งสัญญาณออกไป
  • หาระบบขยายเสียง ซึ่งปกติแล้ว ตัวมิกเซอร์ก็จะสามารถปรับความแรงของสัญญาณเสียง (Gain)ให้เหมาะสมได้ สามารถปรับระดับความดังเสียงแต่ละแชลแนลและควบคุมความดังได้ อีกทั้งยังสามารถปรับแต่งเสียงต่างๆ เช่น EQ คอมเพลสเซอร์ เอฟเฟค ที่มีมาให้ในมิกเซอร์ได้  เป็นหนึ่งอุปกรณ์สำคัญที่ใช้งานตั้งแต่ระบบเสียงเล็กๆ ระบบ

ระบบเสียงคอนเสิร์ตใหญ่

เสียงห้องประชุม ไปจนถึงระบบเสียงคอนเสิร์ตขนาดใหญ่ มิกเซอร์แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

  • ANALOG MIXER หรือ มิกเซอร์แบบอนาล็อก

เป็น Mixer รองรับสัญญาณแบบ Analog สามารถรับสัญญาณเสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงได้ตั้งแต่จำนวนน้อยไปจนถึงจำนวนมาก เช่น รับสัญญาณจากไมโครโฟน หรือเครื่องดนตรีหลายๆ ชิ้น ในการใช้งานมิกเซอร์แบบอนาล็อก บางครั้งอาจต้องเชื่อมต่ออุปกรณ์เอาท์บอร์ด เช่น Equalizer, Compressor และ Crossover เป็นต้น เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถปรับแต่งสัญญาณเสียงได้ตามต้องการมิกเซอร์แบบอนาล็อก มีจุดเด่น คือใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน ปรับใช้งานได้รวดเร็ว ให้โทนเสียงหนาอุ่นในแบบฉบับอนาล็อก สามารถพบเห็นได้ในการใช้งานทั่วไป มีตั้งแต่รุ่นเล็กมีจำนวนชาแนลน้อยๆ ไปจนถึงรุ่นใหญ่ที่มี

ชาแนลมากๆ มิกเซอร์แบบอนาล็อกรองรับใช้งานได้ทั่วๆ ไป ไม่ว่าจะเป็นงานขนาดเล็กๆ ไปจนถึงงานคอนเสิร์ต หรืองานเฟสติวอลได้มิกเซอร์แบบอนาล็อก มีข้อจำกัด คือ มีขนาดใหญ่  ฟังก์ชั่นน้อยกว่าแบบมิกดิจิตอล หากอยากใช้งานเต็มรูปแบบก็ต้องต่อเอาท์บอร์ดเพิ่ม นอกจากนี้ มิกเซอร์แบบอนาล็อก ยังไม่สามารถบันทึกค่าต่างๆ ได้ ต้องใช้การจำ ซึ่งจะเกิดความยุ่งยากในกรณีที่มีวงทำงการแสดงหลายวง

  • DIGITAL MIXER หรือ  มิกเซอร์แบบดิจิตอล

ถูกพัฒนาขึ่้นเพื่อลดขั้นตอนยุ่งยากในการที่ต้องติดตั้งอุปกรณ์เสริม ด้วยการรวมอุปกรณ์ด้านปรับแต่งสัญญาณเสียงอย่างหลากหลายไว้ใน Mixer เครื่องเดียว  รองรับสัญญาณได้ทั้งแบบ Digital และ Analog สามารถเชื่อมกับอุปกรณ์ภายนอกเพื่อปรับแต่งได้ เช่น คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต มิกเซอร์แบบดิจิตอลนิยมใช้งานทั่วไป ทั้งงานขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่ มีฟังก์ชั่น กราฟฟิค อีคิว พารามิเตอร์อีคิว คอมเพรสเซอร์ เกท มัลติเอฟเฟค รวมอยู่ในเครื่องเดียว บางรุ่นมีออดิโออินเทอเฟส เพื่อรองรับการบันทึกทำเดโมเพลงได้ด้วย 

มิกเซอร์แบบดิจิตอล มีจุดเด่นคือ มีขนาดเล็กกว่ามิกเซอร์แบบอนาล็อก มีฟังก์ชั่นให้ใช้งานที่ครอบคลุม  ไม่ว่าจะเป็น กราฟฟิค อีคิว พารามิเตอร์อีคิว คอมเพรสเซอร์ เกท มัลติเอฟเฟค เป็นต้น ทำให้ลดขั้นตอนการวายริ่ง สายสัญญาณลงได้ และยังสามารถควบคุมได้ผ่านมือถือหรือแทปเล็ตได้ และยังสามารถบันทึกค่าต่างๆ และเรียกมาใช้งานได้ 

     มิกเซอร์แบบดิจิตอล มีข้อจำกัด คือ ให้โทนเสียงไม่หนาและอุ่นเหมือนอนาล็อกมิกเซอร์(ยกเว้นในมิกซ์รุ่นใหญ่ๆ)  และการบำรุงรักษาก็มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าอนาล็อกมิกเซอร์มากพอสมควร

ปรีแอมป์

 ปรีแอมป์ หรือ preamplifier

ปรีแอมป์ หรือ preamplifier เป็นแอมป์เครื่องขยายเสียงอิเล็กทรอนิกส์ที่แปลงไฟฟ้าอ่อนแอสัญญาณเป็นสัญญาณการส่งออกที่แรงพอสำหรับการประมวลผลต่อไปหรือสำหรับการส่งไปยังเครื่องขยายเสียงและลำโพงปรีแอมป์ หรือ preamplifier เป็นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ที่มีภาคอินพุทและเอ้าท์พุท คล้ายๆ มิกเซอร์ แต่จะมีขนาดของช่อง อินและเอ้าท์จำนวนจำกัด พบใช้งานทั่วไป ทั้งในบ้านและกลางแจ้ง ปรีแอมป์แบ่งออกเป็นประเภทหลักๆได้ 3 แบบ 

ปรีแอมป์คาราโอเกะ

ปรีคาราโอเกะ  จะมีอินพุทหรือช่องสำหรับไว้เสียบไมค์ และช่องอินพุทสำหรับซอร์ทเสียงจากภายนอกเช่น CD DVD คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค และอื่นๆเป็นต้น และฟังก์ชั่นที่ขาดไม่ได้สำหรับปรีคาราโอเกะ คือ โหมดแอคโค่ รีเวิร์ป ดีเลย์  และอีคิว สำหรับปรับโทนเสียง เช่น เสียงทุ้มเสียงแหลม และมีช่องเอ้าท์พุท สำหรับต่อไปหาเครื่องขยายต่อไป สำหรับปรับโทนเสียง เช่น เสียงทุ้มเสียงแหลม และมีช่องเอ้าท์พุท สำหรับต่อไปหาเครื่องขยาย หรือเพาเวอร์แอมป์ และมีช่องสัญญาณเอ้าท์ออกไป เพื่อต่อกับ Subwoofer เป็นต้น

  • ปรีแอมป์ฟังเพลง

เป็นปรีที่ออกแบบมาสำหรับนักฟังเพลง มีรายละเอียดเสียที่ดี  ส่วนมากใช้งานภายในบ้าน  มีช่องอินพุทและเอ้าท์พุทเพื่อชื่อมต่อไปยังภาคขยาย โดย ปรีฟังเพลง จะไม่มีช่องเสียบไมค์ แต่จะมีเป็นช่องสำหรับเช็คสัญญาณเสียง เช่น ช่องหูฟังเป็นต้น

  •  ปรีแอมป์สำหรับภาพยนต์

เป็นปรีแอมป์ที่ออกแบบมาสำหรับใช้เฉพาะในกลุ่มภาพยนต์เท่านั้น โดยทั่วไปมีทั้งแบบดิจิตอลและอนาล็อค

  • แอมป์ขยายเสียง

เป็นภาคขยายสัญญาณที่รับมาจากปรีแอมป์หรือมิกเซอร์ 

เพาเวอร์แอมป์ (POWER AMP)

  • เพาเวอร์แอมป์ (POWER AMP)

เพาเวอร์แอมป์เป็นแอมป์อิเล็กทรอนิกส์ที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มขนาดกำลังของสัญญาณอินพุตที่รับมาจาก ปรีแอมป์หรือมิกเซอร์ พลังของสัญญาณอินพุทจะเพิ่มขึ้นในระดับที่สูงพอที่จะขับโหลดอุปกรณ์เอาต์พุต เช่น ลำโพงหูฟังเครื่องส่งสัญญาณ RF เป็นต้น เพาเวอร์แอมป์ส่วนมากจะมีวอลลุ่มสำหรับปรับความดัง  มีขนาดกำลังตั้งแต่ไม่กี่วัตต์ ไปจนถึงพันวัตต์ มีค่าความต้านทานตั้งแต่  4,8 ไปจนถึง16 OHM ใช้กับลำโพงหลากหลาย

เพาเวอร์แอมป์มีทั้งแบบที่ใช้ในบ้านและแบบที่ใช้งานกลางแจ้ง แอมป์ประเภทนี้ให้คุณภาพเสียงค่อนข้างตอบสนองความถี่ได้ครบทุกย่าน ให้รายละเอียดเสียงค่อนข้างดีและตอบสนองย่านความถี่เสียงที่กว้าง จึงเหมาะสำหรับ งานดนตรี งานคอนเสิร์ต เพาเวอร์แอมป์แบบโลอิมพีแดนซ์  จะไม่เหมาะสำหรับเดินสายลำโพงระยะไกลในการใช้งาน

มาถึงตอนนี้หลายท่านอาจเกิดคำถามในใจว่า แล้วถ้าในระบบที่ต้องเดินสายไกลๆ เขาใช้เพาเวอร์แอมป์แบบไหน คำตอบก็คือในการเดินสายไกลๆ เช่น ระบบเสียงตามสายหรืองานประกาศ เสียงตามสายในห้างสรรพสินค้า จะใช้เพาเวอร์แอมป์แบบไฮอิมพีแดนซ์ แอมป์ประเภทนี้สามารถเดินสายลำโพงระยะไกลๆได้ คุณภาพของเสียงจะเป็นแบบโมโน ไม่มีมิติซ้ายหรือขวา เน้นความดังเป็นจุดๆ ซึ่งลำโพงที่รองรับจะต้องเป็นลำโพงแบบโวลท์ไลน์เท่านั้น

อินทิเกรทแอมป์( Integrated)

เป็นแอมป์สำหรับใช้ฟังเพลงทั่วไปในบ้าน ให้เสียงนุ่มใส แต่กำลังวัตต์ค่อนข้างน้อย อินทิเกรทแอมป์จะมีปุ่มปรับเสียงไม่ค่อยมาก มักจะมีแค่ ปุ่มปรับเสียงทุ้มเสียงแหลม ปุ่ม บาลานซ์ (สเตอริโอ ซ้ายและขวา) และปุ่มปรับความดังรวม โดยที่บางรุ่นมีปุ่ม Loundness เพื่อยกสัญญาณเสียง เป็นต้น อินทิเกรทแอมป์จะมีช่องอินพุทเพื่อรองรับ เครื่องเล่นมัลติมีเดียต่างๆ เช่น DVD CD โทรศัพท์ โน้ตบุ้ค เป็นต้น

แอมป์สำหรับดูหนัง (Reciever)

คือ เครืองขยายเสียงที่ใช้กับระบบโฮมเธียร์เตอร์ ที่เหมาะสำหรับดูหนัง ฟังเพลง เพราะมีภาคถอดรหัสเสียงหลายๆ อย่าง เช่น Dolby Digital , Dolby Digital Plus , Dolby TrueHD , DTS ,  AC3 , Dolby Prologic แอมป์ประเภทนี้จะมีหลายชาแนล เพื่อรองรับ บรรยากาศของการชมภาพยนต์ โดยสามารถต่อลำโพงได้หลายใบ เช่น  คู่หน้า คู่หลัง ซัพวูฟเฟอร์ เป็นต้น

มิกเซอร์แอมป์ 70V/100V (Mixing amp 70v/100v)

เป็นแอมป์ขยายชนิด ไฮอิมพีแดนซ์ 70v, 100v ออกแบบมาสำหรับใช้งานระบบประกาศ เสียงตามสาย หอกระจายข่าว ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง โดยลำโพงสำหรับใช้งานร่วมก็ต้องเป็นลำโพงที่มีแมทชิ่งไลน์ 70v, 100v เช่นเดียวกัน แอมป์ประเภทนี้จะมีวอลลุ่มปรับเสียงมาด้วย และมีช่องอินพุทสำหรับรองรับ ไมโครโฟน และ เครื่องเล่นมัลติมีเดียต่างๆ เช่น DVD CD โทรศัพท์ โน้ตบุ้ค เป็นต้น

มิกเซอร์แอมป์

เพาเวอร์มิกเซอร์ (POWER MIXER)

เพาเวอร์มิกเซอร์ออกแบบมาเพื่อให้ความสะดวกสบายในการใช้งาน เพราะมีทั้งภาคปรีไมค์ ภาคมิกเซอร์ และภาคขยายรวมกันในเครื่องเดียว ทำให้สะดวกในการเคลื่อินย้าย เพาเวอร์มิกเซอร์มีกำลังขยายสูงขึ้นตั้งแต่ หลักร้อยจนถึงพันวัตต์ มีค่าความต้านทาน 4,8,16 โอห์ม มีทั้งแบบแนวตั้งและแนวนอนซึ่งเหมาะสำหรับการทำงานรูปแบบที่แตกต่างกัน

สรุป

ในการทำงานเกี่ยวกับระบบเสียง จำเป็นจะต้องมีความรู้ความเข้าในอุปกรณ์อย่างถูกต้อง เพราะอุปกรณ์แต่ละประเภท แม้มีหน้าตาคล้ายๆ กัน แต่ก็ออกแบบสำหรับการใช้งานที่แตกต่างกัน นอกจากการใช้เข้าใจในอุปกรณ์แล้ว ทักษะในการทำงานก็เป็นสิ่งที่ควรได้รับการฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ เมื่อมีทั้งความรู้ความเข้าอุปกรณ์และมีทักษะในการการทำงาน หรือหากเราต้องการ ติดตั้งเครื่องเสียงห้องประชุม ควรให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ออกแบบแนะนำเพราะจะทำให้ใช้งานระบบเสียงได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและลดโอกาสที่จะเกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์ช่วยยืดอายุอุปกรณ์ไปได้อีกนานครับ 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

logo

เกี่ยวกับเรา

เว็บบล็อกข่าวด้านความปลอดภัยในการทำงาน มีเนื้อหาน่าสนใจ ที่คุณสามารถอ่านได้ในทุกวัน 

Copyright @2023 – All Right Reserved. Designed and Developed by wpcustomerhelp